วันอังคารที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ซอฟแวร์

ความหมายของซอฟแวร์


1.ความหมายของซอฟต์แวร์

ซอฟต์แวร์ เป็นชื่อเรียกเพื่อใช้เปรียบต่างกับฮาร์ดแวร์ ซึ่งเป็นลักษณะทางกายภาพในการเก็บและประมวลผลของซอฟต์แวร์ ในคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์จะถูกเรียกใช้งานในแรมและประมวลผลผ่านซีพียู

ซอฟต์แวร์ (software) หมายถึง ชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ใช้สั่งงานให้คอมพิวเตอร์ทำงาน ซอฟต์แวร์จึงหมายถึงลำดับขั้นตอนการทำงานที่เขียนขึ้นด้วยคำสั่งของคอมพิวเตอร์ คำสั่งเหล่านี้เรียงกันเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ จากที่ทราบมาแล้วว่าคอมพิวเตอร์ทำงานตามคำสั่ง การทำงานพื้นฐานเป็นเพียงการกระทำกับข้อมูลที่เป็นตัวเลขฐานสอง ซึ่งใช้แทนข้อมูลที่เป็นตัวเลข ตัวอักษร รูปภาพ หรือแม้แต่เป็นเสียงพูดก็ได้ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้สั่งงานคอมพิวเตอร์จึงเป็นซอฟต์แวร์ เพราะเป็นลำดับขั้นตอนการทำงานของคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งทำงานแตกต่างกันได้มากมายด้วยซอฟต์แวร์ที่แตกต่างกัน
ซอฟต์แวร์จึงหมายรวมถึง โปรแกรมคอมพิวเตอร์ทุกประเภทที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้
การที่เราเห็นคอมพิวเตอร์ทำงานให้กับเราได้มากมาย เพราะว่ามีผู้พัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์มาให้เราสั่งงานคอมพิวเตอร์ ร้านค้าอาจใช้คอมพิวเตอร์ทำบัญชีที่ยุ่งยากซับซ้อน บริษัทขายตั๋วใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในระบบการจองตั๋ว คอมพิวเตอร์ช่วยในเรื่องกิจการงานธนาคารที่มีข้อมูลต่าง ๆ มากมาย คอมพิวเตอร์ช่วยงานพิมพ์เอกสารให้สวยงาม เป็นต้น การที่คอมพิวเตอร์ดำเนินการให้ประโยชน์ได้มากมายมหาศาลจะอยู่ที่ซอฟต์แวร์ ซอฟต์แวร์จึงเป็นส่วนสำคัญของระบบคอมพิวเตอร์ หากขาดซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ก็ไม่สามารถทำงานได้ ซอฟต์แวร์จึงเป็นสิ่งที่จำเป็น และมีความสำคัญมาก และเป็นส่วนประกอบหนึ่งที่ทำให้ระบบสารสนเทศเป็นไปได้ตามที่ต้องการ
(http://web.ku.ac.th/schoolnet/snet1/software/software/)



Software หมายถึง โปรแกรมหรือชุดคำสั่ง ทำหน้าที่สั่งการ ควบคุมการ ประมวลผลอุปรกรณ์คอมพิวเตอร์ ในส่วนที่เรียกว่า ฮาร์ดแวร์ แม้ว่าจะมีความเร็วสูงในการทำงาน มีหน่วยความจำสูง และมีอุปรกรณ์ประกอบมากมาย แต่ฮาร์ดแวร์ทำงานไม่ได้ ถ้าไม่มีชุดคำสั่งควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์
(http://www.comsimple.com/index.php?option=com_content&view=article&id=137:software&catid=42:2009-10-19-06-35-36&Itemid=60)



Software หมายถึง ชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ใช้สั่งงานให้คอมพิวเตอร์ทำงาน
ซอฟต์แวร์จึงหมายถึง ลำดับขั้นตอนการทำงานที่เขียนขึ้นด้วยคำสั่งของคอมพิวเตอร์ คำสั่งเหล่านี้เรียงกันเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ จากที่ทราบมาแล้วว่าคอมพิวเตอร์ทำงานตามคำสั่ง การทำงานพื้นฐานเป็นเพียงการกระทำกับข้อมูลที่เป็นตัวเลขฐานสอง ซึ่งใช้แทนข้อมูลที่เป็นตัวเลข ตัวอักษร รูปภาพ หรือแม้แต่เป็นเสียงพูดก็ได้ ซอฟต์แวร์นั้น นอกจากจะสามารถใช้งานบนคอมพิวเตอร์ได้แล้ว ยังสามารถใช้งานบนเครื่องใช้ หรืออุปกรณ์อื่น เช่น โทรศัพท์มือถือ หรือ หุ่นยนต์ในโรงงาน หรือ เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ
คำว่า "ซอฟต์แวร์" ใช้ครั้งแรกโดย จอห์น ดับเบิลยู. เทอร์กีย์ (John W. Turkey) ในปี พ.ศ. 2500 (ค.ศ. 1957) โดยแนวคิดของซอฟต์แวร์ปรากฏ ครั้งแรกในเรียงความของแอลัน ทัวริง บิดาของวิทยาการคอมพิวเตอร์ กล่าวกันว่าโปรแกรมคอมพิวเตอร์ชิ้นแรกของโลกเขียนโดยเอดา ไบรอน เป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับเครื่องวิเคราะห์ (analytical engine) ของชาร์ลส แบบเบจ
(http://www.navy34.com/index.php/com-software/206-what-hardware-is)

ซอฟต์แวร์ หมายถึง โปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่เขียนขึ้นมาเพื่อทำการสั่งงานให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ใช้ต้องการ เช่น ระบบโปรแกรมควบคุมเครื่อง โปรแกรมระบบบัญชี โปรแกรมสำเร็จรูป
CU – WRITER โปรแกรมที่เขียนขึ้นใช้ด้วยตนเอง โปรแกรมบน WINDOWS เป็นต้น
(http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/samutprakan/mongkon_g/computer/sec02p03.html)

ซอฟต์แวร์ (Software) หมายถึง โปรแกรมชุดคำสั่งที่เขียนให้เครื่องคอมพิวเตอร์ปฏิบัติตาม
(http://www.chandra.ac.th/office/ict/document/it/it01/com_06.htm)


ซอฟต์แวร์ หมายถึง ส่วนที่มนุษย์สัมผัสไม่ได้โดยตรง (นามธรรม) เป็นโปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่ถูกเขียนขึ้นเพื่อสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงาน ซอฟต์แวร์จึงเป็นเหมือนตัวเชื่อมระหว่างผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์และเครื่องคอมพิวเตอร์ ถ้าไม่มีซอฟต์แวร์เราก็ไม่สามารถใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำอะไรได้เลย
(http://www.thaiwbi.com/course/Intro_com/Intro_com/wbi1/hie/page42.htm)


ความหมายของซอฟต์แวร์
ซอฟต์แวร์ (software) หรือ ส่วนชุดคำสั่ง และยังมีการสะกด ซอฟต์แวร์ เป็นส่วนของระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการจัดเก็บและประมวลผลข้อมูล ซอฟต์แวร์นั้น นอกจากจะสามารถใช้งานบนคอมพิวเตอร์ได้แล้ว ยังสามารถใช้งานบนเครื่องใช้ หรืออุปกรณ์อื่น เช่น โทรศัพท์มือถือ หรือ หุ่นยนต์ในโรงงาน หรือ เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ
คำว่า "ซอฟต์แวร์" ใช้ครั้งแรกโดย จอห์น ดับเบิลยู. เทอร์กีย์ (John W. Turkey) ในปี พ.ศ. 2500 (ค.ศ. 1957) โดยแนวคิดของซอฟต์แวร์ปรากฏ ครั้งแรกในเรียงความของแอลัน ทัวริง
ซอฟต์แวร์ (software) หมายถึง ชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ใช้สั่งงานให้คอมพิวเตอร์ทำงาน ซอฟต์แวร์จึงหมายถึงลำดับขั้นตอนการทำงานที่เขียนขึ้นด้วย คำสั่งของคอมพิวเตอร์ คำสั่งเหล่านี้เรียงกันเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์
โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้สั่งงานคอมพิวเตอร์จึงเป็นซอฟต์แวร์ เพราะเป็นลำดับขั้นตอนการทำงานของคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งทำงานแตกต่างกัน ได้มากมายด้วยซอฟต์แวร์ที่แตกต่างกัน ซอฟต์แวร์ จึงหมายรวมถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ทุกประเภทที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้
(http://www.software.co.th/what-is-software.asp)

ซอฟต์แวร์ คือ
-สิ่งที่เป็นนามธรรม ไม่สามารถจับต้องได้ เป็นชุดคำสั่งที่ใช้สั่งงานให้คอมพิวเตอร์ทำงาน
-ชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่สั่งงานให้กับ hardware ทำงานเพื่อให้เกิดการ out put หลังจากที่เรา in put เข้าไป
สำหรับ hardware จะอยู่ในเครื่องที่เราเรียกว่า คณิตกรณ์
-แชร์แวร์ (Shareware) คือ เป็นซอฟแวร์ที่สามารถใช้งานได้ฟรี ให้มีการทดลองใช้แต่มีข้อจำกัดในเรื่องอายุ การใช้งาน
(http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=6077411e3914c98c&clk=wttpcts)



ซอฟต์แวร์ (Software) หมายถึง ส่วนที่ทำหน้าที่เป็นคำสั่งที่ใช้ควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ หรืออาจเรียกว่า “ โปรแกรม ” ก็ได้ ซึ่งหมายถึงคำสั่งหรือชุดคำสั่ง สามารถใช้เพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงาน เราต้องการให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำอะไรก็เขียนเป็นคำสั่งที่จะต้องสั่งเป็นขั้นตอน และแต่ละขั้นตอนต้องทำอย่างละเอียดและครบถ้วนก็จะเรียกว่า นักเขียนโปรแกรม (Programmer) สำหรับการเขียนโปรแกรมดังกล่าวใช้ภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมโดยเฉพาะ หรือหมายถึง ภาษาที่เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ เช่น ภาษาเบสิก ภาษาโคบอล ภาษาปาสคาล เป็นต้น โปรแกรมที่เขียนขึ้นมาก็จะนำไปใช้ในงานเฉพาะอย่าง เช่น โปรแกรมสต็อกสินค้าคงคลัง โปรแกรมคำนวณภาษี โปรแกรมคิดเงินเดือนพนักงาน เป็นต้น
(http://elearning.northcm.ac.th/it/lesson3-1.asp)

ซอฟต์แวร์ (software) หรือ ส่วนชุดคำสั่ง หรือบางครั้งมีการสะกดว่า ซอฟ‌ท์แวร์ เป็นส่วนของระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการจัดเก็บและประมวลผลข้อมูล ซอฟต์แวร์นั้นนอกจากจะสามารถใช้งานบนคอมพิวเตอร์ได้แล้ว ยังสามารถใช้งานบนเครื่องใช้ หรืออุปกรณ์อื่น เช่น โทรศัพท์มือถือ หรือหุ่นยนต์ในโรงงาน หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ คำว่า "ซอฟต์แวร์" ใช้ครั้งแรกโดย จอห์น ดับเบิลยู. เทอร์กีย์ (John W. Turkey) ในปี พ.ศ. 2500 (ค.ศ. 1957) โดยแนวคิดของซอฟต์แวร์ปรากฏครั้งแรกในเรียงความของแอลัน ทัวริง บิดาของวิทยาการคอมพิวเตอร์ กล่าวกันว่าโปรแกรมคอมพิวเตอร์ชิ้นแรกของโลกเขียนโดยเอดา ไบรอน เป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับเครื่องวิเคราะห์ (analytical engine) ของชาร์ลส แบบเบจ
(http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%8B%E0%B8%AD%E0%B8%9F%E0%B8%95%E0%B9%8C%E0%B9%81%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B9%8C)

ประเภทของซอฟต์แวร์
สามารถแบ่งได้ 2 ประเภทคือ ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) และซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)
1. ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) เป็นโปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่เขียนขึ้นเพื่อควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ให้ประสานกัน และควบคุมลำดับขั้นตอนการทำงานของอุปกรณ์ต่าง ๆ ในระบบคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ระบบที่นิยมแพร่หลาย ได้แก่ DOS, UNIX, WINDOWS, SUN, OS/2, NET WARE เป็นต้น
โปรแกรมระบบปฏิบัติการ (Operating Systems : OS) หรือ Supervisory Programs หรือ Monitors Programs เป็นโปรแกรมที่สำคัญที่สุดอีกประการหนึ่งและมีความสลับซับซ้อนมาก ช่วยให้คอมพิวเตอร์สามารถควบคุม (Control) การปฏิบัติงานของเครื่องได้เองโดยอัตโนมัติ และดูแลตรวจตราทุก ๆ การทำงานของฮาร์ดแวร์ในระบบคอมพิวเตอร์ นับตั้งแต่เปิดเครื่องจนกระทั่งปิดเครื่อง ทำหน้าที่เป็นตัวกลางเชื่อมระหว่างซอฟต์แวร์กับฮาร์ดแวร์




ประเภทของโปรแกรมระบบ (System Software)
1) โปรแกรมที่ทำงานทางด้านควบคุม (Control Programs) หมายถึง โปรแกรมที่ใช้ ควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องที่สำคัญ ได้แก่
- Supervisor การจัดการทั่วไปเกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์ จะอยู่ภายใต้ ความควบคุมของ Supervisor ซึ่งอยู่ในหน่วยความจำหลักในซีพียูและทำหน้าที่ประสานงานกับส่วนอื่น ๆ ของโปรแกรมควบคุมระบบ เมื่อใดที่โปรแกรมภายใต้ระบบปฏิบัติการถูกเรียกมาใช้งาน Supervisor จะส่งการควบคุมไปยังโปรแกรมนั้น เมื่อการทำงานสิ้นสุดลง โปรแกรมดังกล่าวจะส่งการควบคุมกลับมายัง Supervisor อีกครั้ง
- โปรแกรมควบคุมงานด้านอื่น ๆ (Other Job/Resource Control Programs) ได้แก่ โปรแกรมที่ควบคุมเกี่ยวกับลำดับงาน ความผิดพลาดที่ทำให้การหยุดชะงักของโปรแกรม (Interrupt) หรือพิมพ์ข้อความหรือข่าวสารให้แก่ผู้ควบคุมเครื่องทราบเมื่อมีข้อผิดพลาด หรือต้องการแจ้งให้ทราบถึงสถานภาพของอุปกรณ์รับส่ง เป็นต้น
2) ระบบปฏิบัติการของไมโครคอมพิวเตอร์ (Microcomputer Operating System) จะมี ลักษณะเฉพาะโดยขึ้นอยู่กับระบบปฏิบัติการและฮาร์ดแวร์ โปรแกรมสำเร็จรูปไม่สามารถใช้ข้ามระบบปฏิบัติการได้ เช่น โปรแกรมสำเร็จรูปที่ใช้บนระบบปฏิบัติการ MS - DOS จะไม่สามารถนำไปใช้บน Windows ได้ ระบบปฏิบัติการที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ ได้แก่
2.1 MS - DOS (Microsoft Disk Operating System) เป็นโปรแกรมควบคุมระบบปฏิบัติการ พัฒนาในช่วงปีค.ศ. 1980 จากบริษัท Microsoft พัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้กับงานเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ Microprocessor รุ่น 8086, 8088, 80286, 80386, 80486 สำหรับผลิตภัณฑ์เครื่องคอมพิวเตอร์ IBM Compatible ทั่วไป มี 2 เวอร์ชัน (Version) ได้แก่ PC-DOS และ MS-DOS ดอสเป็นระบบปฏิบัติการที่มีส่วนประสานกับผู้ใช้ (User Interface) เป็นแบบป้อนคำสั่ง (Command - line User Interface) MS - DOS นั้นจะมีส่วนประกอบโปรแกรม 3 ส่วน คือ IO.SYS MS - DOS.SYS และ COMMAND.COM ทั้ง 3 โปรแกรมจะทำหน้าที่ในการจัดการทำงานทุกอย่างในระบบ สำหรับ MS - DOS.SYS และ IO.SYS นั้นเป็นไฟล์ระบบและถูกซ่อนไว้ในขณะที่เราสั่งงาน
IO.SYS เป็นส่วนที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ป้อนเข้า (Input Device) และอุปกรณ์แสดงผล (Output Device) เช่น แป้นพิมพ์ จอภาพ และเครื่องพิมพ์ เป็นต้น
MS - DOS.SYS เป็นส่วนที่ใช้ในการเข้าถึง (Access) โปรแกรมย่อย (Routine) ต่าง ๆ ของดอส เมื่อโปรแกรมมีการเรียกใช้รูทีนเหล่านั้น ตัว MS - DOS.SYS จะรับข้อมูลต่าง ๆ จากโปรแกรมต่าง ๆ ผ่านจากรีจิสเตอร์ทำการควบคุมการทำงาน (Control Block) และจัดพารามิเตอร์ในการเรียกใช้ IO.SYS ให้ทำงานตามที่ต้องการ
COMMAND.COM ทำหน้าที่เป็นตัวประสาน คอยรับคำสั่งจากผู้ใช้ผ่านทางแป้นพิมพ์ เพื่อส่งผ่านคำสั่งไปยังคอมพิวเตอร์ เปรียบเสมือนตัวเชื่อมผู้ใช้กับโปรแกรมจัดระบบ
คำสั่งในระบบ MS - DOS จะแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
- คำสั่งภายใน (Internal Command) เป็นคำสั่งที่มีอยู่แล้วภายในระบบ เช่น คำสั่ง DIR (Directory) เป็นการเรียกข้อมูลจากหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง ขึ้นมาดูเพื่อค้นหาแฟ้มข้อมูล คำสั่ง COPY เป็นการสำรองข้อมูลไว้ REN (Rename) เป็นการเปลี่ยนชื่อแฟ้มข้อมูลโดยที่ข้อมูลภายในยังคงเหมือนเดิม คำสั่ง TYPE เป็นการเรียกดูรายละเอียดของข้อมูลแต่ละแฟ้มขึ้นมาดู แต่แฟ้มนั้นจะต้องอยู่ในรูปของข้อความ (Text File) และคำสั่ง CLS (Clear) เป็นคำสั่งลบข้อความบนจอภาพ โดยที่ข้อมูลที่อยู่ภายในแฟ้มจะไม่หาย เป็นต้น
- คำสั่งภายนอก (External Command) คำสั่งประเภทนี้ต้องเรียกใช้จากแผ่นโปรแกรมหรือจากหน่วยความจำสำรองที่ได้สร้างเก็บคำสั่งต่าง ๆ เหล่านี้ไว้หากไม่มีก็จะไม่สามารถเรียกคำสั่งขึ้นมาใช้ได้ เช่น คำสั่ง CHKDSK (Check Disk) เป็นคำสั่งที่ใช้ในการตรวจสอบหน่วยเก็บข้อมูลสำรองว่ามีพื้นที่ในการเก็บเท่าใด ใช้ไปเท่าใด คงเหลือเท่าใด และมีส่วนหนึ่งส่วนใดของหน่วยเก็บข้อมูลสำรองเสียหรือไม่
- คำสั่ง FORMAT เป็นการจัดเตรียมโครงสร้างภายในแผ่นหรือจานแผ่นเหล็ก เป็นการวิเคราะห์แผ่นจานแม่เหล็กสำหรับตำแหน่ง (Track) ที่เสีย
2.2 Windows 3.X ประมาณต้นปี ค.ศ. 1990 บริษัทไมโครซอฟต์ได้ผลิต Windows 3.0 ซึ่งนำมาใช้การทำงานระบบกราฟิกเพื่อให้ผู้ใช้ใช้งานง่ายและสะดวกเรียกว่า GUI (Graphic User Interface) โดยใช้ภาพเล็ก ๆ เรียกว่า ไอคอน (Icon) และใช้เมาส์ (Mouse) แทนคีย์บอร์ด (Key Board) นอกจากนี้ Windows 3.0 ขึ้นไป ยังสามารถทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ใช้งานโปรแกรมได้มากกว่าหนึ่งโปรแกรมในขณะเดียวกันเรียกว่า Multitasking ได้พัฒนาระบบปฏิบัติการ Windows ขึ้นมามี 3 เวอร์ชัน (Version) ได้แก่ Windows 3.0, Windows 3.1 และ Windows 3.11
2.3 Windows 95 ต่อมาในปี ค.ศ. 1995 บริษัทไมโครซอฟต์ได้ผลิต Windows 95 ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการที่ทำงานแบบหลายงาน (Multitasking) การทำงานในลักษณะเครือข่าย (Network) Windows 95 มีคุณลักษณะเด่น ดังนี้
- มีระบบติดต่อกับผู้ใช้โดยแสดงเป็นกราฟิก (Graphical User Interface :GUI)
- มีความสามารถในการเปิดเอกสารได้ครั้งละหลายไฟล์ และสามารถใช้โปรแกรมหลาย โปรแกรมในเวลาเดียวกัน
- มีโปรแกรมเวิร์ดโปรเซสซิ่ง เรียกว่า Word Pad โปรแกรมวาดรูป และเกม
- เริ่มมีเทคโนโลยี Plug and Play และสนับสนุนการติดต่อสื่อสารผ่านเครือข่าย อินเทอร์เน็ต โดยติดตั้ง Windows 95 ไม่จำเป็นต้องติดตั้งที่ MS-DOS ก่อน แต่สามารถใช้งานร่วมกับ MS-DOS ได้
- สามารถใช้แอปพลิเคชันที่รันบน Windows 3.1 ได้เลยโดยไม่ต้องแก้ไข และซอฟต์แวร์ที่รันบน Windows 95 มีความสามารถส่ง Fax และ E - mail ได้
2.4 Windows 98 เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของ Windows 95 ระบบปฏิบัติการ Windows 98 เป็นระบบที่สนับสนุนการทำงานของโปรแกรมต่าง ๆ บน Windows โดยเชื่อมต่อกับระบบอินเทอร์เน็ตอย่างมีประสิทธิภาพ
2.5 Windows Millennium Edition หรือเรียกสั้น ๆ ว่า "Windows ME" ใน เวอร์ชันนี้พัฒนามาจาก Windows 98 เพื่อแก้ไขข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากเวอร์ชันเก่า มีการสนับสนุนการทำงานแบบมัลติมีเดียมากขึ้น
2.6 Windows NT เป็นระบบปฏิบัติการในส่วนของเครือข่าย (Network) คล้าย กับ Windows 95 พัฒนามาจาก LAN Manager และ Windows for Workgroup โดย Windows NT มี 2 เวอร์ชัน ได้แก่ Windows NT Server และ Windows NT Workstation โดยที่ Server จะทำหน้าที่ระบบปฏิบัติการเครือข่ายที่คอยให้บริการแก่เครื่องที่เป็น Workstation คุณสมบัติของระบบปฏิบัติการ Windows NT ได้แก่ ทำงานได้ในลักษณะหลายงานพร้อมกัน สามารถใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีตัวประมวลผล (CPU) มากกว่า 2 โปรเซสเซอร์ สามารถสร้างระบบแฟ้มของตนเองเป็นแบบ NTFS ซึ่งแต่เดิมจะเป็นแบบ FAT (File Allocation Table) เพียงอย่างเดียว มีระบบป้องกันความปลอดภัยของข้อมูลโดยสร้างรหัสผ่านให้กับผู้ใช้แต่ละคน และ สามารถกำหนดวันเวลาในการใช้งาน เป็นต้น
2.7 Windows 2000 Professional / Standard เป็นระบบปฏิบัติการที่ได้รับการ พัฒนาให้อำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้ที่ใช้งานลักษณะเป็นกราฟิก เช่น มีโปรแกรม Windows Installation Service ที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถทำการติดตั้งหรืออัพเกรด (Upgrade) โปรแกรมได้ง่ายและมีการจัดการระบบตลอดจนมีการบริหารแม่ขายแบบรวมศูนย์ เหมาะสำหรับใช้ในงานสำนักงานมากกว่าที่จะใช้ที่บ้าน จุดเด่นของ Windows 2000 คือ การต่อเชื่อมระบบเครือข่ายและระบบรักษาความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพสูงและสนับสนุน Multi Language
2.8 Windows XP เป็นระบบปฏิบัติการที่มีความสมบูรณ์แบบทั้งในด้านการ ทำงานร่วมกับ Internet Explorer 6 และ Microsoft Web Browser Windows XP มี 2 รูปแบบด้วยกัน คือ Windows XP Home Edition และ Windows XP Professional Edition
2.9 Mac OS X ระบบปฏิบัติการ Macintosh Operating System เป็นระบบ ปฏิบัติการของเครื่องแมคอินทอช เป็นผลิตภัณฑ์แรกที่ประสบความสำเร็จเกี่ยวกับการทำงานแบบ GUI ในปี ค.ศ. 1984 ของบริษัท Apple ต่อมาได้มีการเปลี่ยนชื่อเป็นระบบปฏิบัติการ Mac OS โดยเวอร์ชันล่าสุดมีชื่อเรียกว่า Mac OS X เหมาะสมกับคอมพิวเตอร์ที่ผลิตโดยบริษัท Apple และมีความสามารถในการทำงานหลายโปรแกรมพร้อมกัน (Multitasking) เหมาะกับงานในด้านเดสก์ทอปพับลิชชิ่ง (Desktop Publishing)
2.10 OS/2 Warp Client พัฒนาขึ้นมาโดยบริษัท IBM ได้นำเครื่องคอมพิวเตอร์ PS/2 ข้าสู่ตลาดก็ได้ติดต่อบริษัทไมโครซอฟต์ พัฒนาระบบปฏิบัติการตัวใหม่เป็น ระบบปฏิบัติการสำหรับเครื่องลูกข่าย สามารถทำงานแบบการทำงานหลายงาน (Multitasking) ได้ มีลักษณะการทำงานแบบดอสมากกว่า Windows สนับสนุนการทำงานแบบเครือข่าย มีขีดความสามารถติดต่อกับผู้ใช้แบบกราฟิกแต่ OS/2 ที่ผลิตออกมาในขณะนั้นไม่เป็นที่นิยม เพราะต้องใช้หน่วยความจำขนาดใหญ่ และโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้กับ OS/2 ก็มีน้อย
2.11 UNIX เป็นระบบปฏิบัติการที่ใหญ่ สามารถใช้งานในลักษณะการทำงาน หลาย ๆ โปรแกรมพร้อมกัน (Multitasking) และเป็นแบบมัลติยูสเซอร์ (Multi-User) คือ มีผู้ใช้หลาย ๆ คนพร้อมกัน เป็นระบบที่พัฒนามาใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ เช่น เครื่องเมนเฟรม มินิคอมพิวเตอร์และเวิร์กสเตชั่น (Workstation) เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ธรรมดา ๆ ที่ติดตั้งระบบปฏิบัติการ UNIX สามารถทำงานรองรับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มี User ต่อเชื่อมเข้ามาได้มากถึง 120 ตัว ไปพร้อม ๆ กันและเหมาะสมสำหรับระบบเน็ตเวิร์ก (Network) นอกจากนั้นยังสามารถเคลื่อนย้ายงานและแอพพลิเคชั่นไปมาระหว่างแพลทฟอร์มได้ และสามารถย้ายงานที่รันอยู่บน DOS หรือ Windows มาใช้บนระบบปฏิบัติการ UNIX ได้ นอกจากนี้ยังมียูทิลิตี้ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับ UNIX อีกด้วย
2.12 LINUX เป็นระบบปฏิบัติการที่มีลักษณะคล้ายกับ UNIX พัฒนาขึ้นมาเพื่อ แจกจ่ายให้ใช้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และพัฒนาขึ้นเพื่อใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ PC ระบบปฏิบัติการลินุกซ์ทะเล (Linux TLE) เกิดขึ้น เนื่องจากระบบปฏิบัติการลินุกซ์หลายค่ายจากต่างประเทศยังใช้งานภาษาไทยได้ไม่ดีเท่าที่ควร และการติดตั้งภาษาไทยก็ยุ่งยากพอสมควร จึงเป็นอุปสรรคสำคัญในการนำลินุกซ์มาใช้งาน จากปัญหาเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ซึ่งมีราคาสูง ทำให้ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ได้ตั้งทีมออกแบบพัฒนาให้ใช้งานภาษาไทยและสามารถนำมาใช้งานแทน Windows ได้ ให้ชื่อว่า Linux TLE (Thai Language Extension) หรือ ลินุกซ์ทะเล และเป็นการพัฒนาโดยคนไทยซึ่งต้องการพัฒนาซอฟต์แวร์กลางที่มีภาษาไทยเสริม ภายใต้มาตรฐานสากล TLE จึงเป็นตัวแทนของจุดประสงค์ของการพัฒนา และแสดงเอกลักษณ์ของความเป็นไทย ให้สอดคล้องกับที่มาและสามารถเข้าใจได้ในเวทีสากล ลินุกซ์ทะเลได้พัฒนาระบบภาษาไทยให้ใช้งานได้ดีถึง 100% มีระบบการตัดคำที่อ้างอิงจากดิกชันนารี เพิ่มฟอนต์ภาษาไทยประเภทบิตแมปอีก 20 ฟอนต์ รวมทั้งฟอนต์แบบ True - Type สนับสนุนมาตรฐาน TIS620 เป็นฟอนต์ไทยซึ่งทาง NECTEC ได้จดลิขสิทธิ์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
2.13 Solaris Solaris เป็นเวอร์ชันหนึ่งของ UNIX พัฒนาโดยบริษัท Sun Microsystems เป็นระบบปฏิบัติการเครือข่ายที่ออกแบบสำหรับงานด้านโปรแกรม E - commerce
3) ระบบปฏิบัติการสามารถแบ่งออกตามลักษณะการทำงาน ได้ดังนี้
3.1 ระบบปฏิบัติการสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์แบบ Stand - alone เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลหรือโน๊ตบุ๊ค ที่ทำงานโดยไม่มี การเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น หรือหากมีการเชื่อมต่อเป็นระบบเครือข่าย เช่น LAN หรือ Internet ก็จะเรียกระบบปฏิบัติการนี้ว่า "Client Operating System" ได้แก่ MS - DOS, MS - Windows ME, Windows server 2000, Windows XP, Windows NT, Windows server 2003, UNIX, LINUX, Mac OS, OS/2 Warp Client
3.2 ระบบปฏิบัติการแบบฝัง (Embedded Operating System) เป็นระบบปฏิบัติการที่มาพร้อมกับคอมพิวเตอร์ จัดเก็บไว้บนชิพ ROM ของเครื่องมี คุณสมบัติพิเศษ คือ ใช้หน่วยความจำน้อยและสามารถป้อนข้อมูลโดยใช้ สไตล์ลัส (Stylus) ซึ่งเป็นแท่งพลาสติกใช้เขียนตัวอักษรลงบนจอภาพได้ ตัวระบบปฏิบัติการจะมีคุณสมบัติวิเคราะห์ลายมือเขียน (Hand Writing Recognition) และทำการแปลงเป็นตัวอักษรเข้าสู่ระบบได้อย่างถูกต้องพบได้ในคอมพิวเตอร์แบบ Hand Held เช่น Palm Top, Pocket PC เป็นต้น ระบบปฏิบัติการชนิดนี้ได้รับความนิยม คือ Windows CE, Pocket PC 2002 และ Palm OS เป็นต้น
3.3 ระบบปฏิบัติการเครือข่าย (Network Operating System : NOS) เป็นระบบปฏิบัติการที่ออกแบบเพื่อจัดการงานด้านการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ให้ สามารถใช้ทรัพยากรร่วมกันได้ เช่น เครื่องพิมพ์ ฮาร์ดดิสก์ เป็นต้น ระบบปฏิบัติการเครือข่ายจะมีลักษณะการทำงานคล้ายกับระบบปฏิบัติการดอส จะแตกต่างในส่วนของการเพิ่มการจัดการเกี่ยวกับเครือข่ายและการใช้อุปกรณ์ร่วมกัน รวมทั้งมีระบบป้องกันการสูญหายของข้อมูล ปัจจุบันระบบปฏิบัติการเครือข่ายจะใช้หลักการประมวลผลแบบไคลแอนด์เซิร์ฟเวอร์ (Client / Server) คือ การจัดการเรียกใช้ข้อมูลและโปรแกรมจะทำงานอยู่บนเครื่องเซิร์ฟเวอร์ ในขณะที่ส่วนประกอบอื่น ๆ ของระบบปฏิบัติการเครือข่ายจะทำงานอยู่บนเครื่องไคลแอนด์ เช่น การประมวลผล และการติดต่อกับผู้ใช้
3.4 ระบบปฏิบัติการบนเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ระดับเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ โดยนำมาใช้ในด้านธุรกิจและการศึกษา ซึ่งจะมีผู้ใช้งานพร้อมกันจำนวนมาก โดยต้องทำการดูแลสั่งงานโปรแกรมพร้อม กันจำนวนหลาย ๆ โปรแกรม (Multitasking) การเข้าใช้งานเครื่องของผู้ใช้จำนวนหลาย ๆ คน (Multi - User) การจัดลำดับและแบ่งปันทรัพยากรให้กับผู้ใช้ ตลอดจนการรักษาความเป็นส่วนตัวและความลับของผู้ใช้แต่ละคน
3.5 ระบบปฏิบัติการแบบเปิด (Open Operating System) สามารถนำไปใช้งานบนเครื่องต่าง ๆ กันได้ เช่น ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ (UNIX) เป็นต้น
การเลือกใช้ระบบปฏิบัติการกับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ (Selecting a Microcomputer Operating System) เช่น งานพิมพ์เอกสาร งานคำนวณ งานออกแบบ หรืองานทางด้านบัญชี และมีจำนวนผู้ใช้กี่คน จำเป็นต้องใช้ข้อมูลและโปรแกรมต่าง ๆ ร่วมกันหรือไม่ ผู้ใช้แต่ละคนอยู่ที่เดียวกันหรืออยู่คนละแห่ง ประสิทธิภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะตัวประมวลผล ขนาดความจุของหน่วยความจำ โปรแกรมประยุกต์ที่มีใช้อยู่เดิมใช้กับระบบปฏิบัติการชนิดไหน ต้นทุนในการจัดหาระบบปฏิบัติว่ามีมากน้อยเท่าไร และความสามารถในการให้บริการหลังการขายของผู้จัดจำหน่าย ซึ่งแต่ละปัจจัยก็มีผลต่อการตัดสินใจจัดหาระบบปฏิบัติการเพื่อให้เหมาะสมกับองค์การ และงบประมาณที่มี

ประเภทของซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)
เป็นโปรแกรมหรือชุดคำสั่ง ที่เขียนขึ้นเพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานเฉพาะอย่าง หรือเฉพาะด้าน
ประเภทของซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) มี 2 ประเภท คือ
2.1 ซอฟต์แวร์สำหรับงานทั่วไปหรือซอฟต์แวร์สำเร็จรูป
- ซอฟต์แวร์เกี่ยวกับระบบจัดการ
- ซอฟต์แวร์ประมวลผลคำ
- ซอฟต์แวร์กระดานคำนวณ
- ซอฟต์แวร์จัดการข้อมูลด้านงานธุรกิจ
- ซอฟต์แวร์นำเสนอ (Presentation Software)
- ซอฟต์แวร์เพื่อการติดต่อสื่อสารและเข้าถึงข้อมูล
2.2 ซอฟต์แวร์สำหรับงานเฉพาะด้าน
เป็นโปรแกรมที่ผลิตขึ้นมาเพื่อทำงานอย่างใดอย่างหนึ่ง และไม่สามารถทำงานอื่นได้ เช่น โปรแกรมระบบบัญชี โปรแกรมช่วยงานอุตสาหกรรม เป็นต้น

โปรแกรมภาษา (Language Software)
โปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ที่จะสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานนั้นถูกเขียนขึ้นด้วยภาษาที่เรียกว่า "ภาษาคอมพิวเตอร์" ผู้เขียนโปรแกรม (Programmer) จะต้องเข้าใจถึงกฎเกณฑ์ไวยากรณ์ของคำสั่ง และวิธีการเขียนโปรแกรมของ ภาษาคอมพิวเตอร์ที่เลือกใช้เขียนโปรแกรม ปัจจุบันภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้สำหรับเขียนโปรแกรมมีอยู่มากมายหลายภาษา เช่น Basic, C, C++, Java เป็นต้น
โปรแกรมภาษาสามารถแบ่งออกได้ 3 แบบ คือ
1) ภาษาเครื่อง (Machine Language) เป็นภาษาของเครื่องคอมพิวเตอร์โดยมีโครงสร้างและพื้นฐานเป็นเลขฐาน 2 และตัวสตริง (Strings) ซึ่งเครื่องสามารถเข้าใจและพร้อมที่จะทำงานตามคำสั่งได้ในทันที ไม่จำเป็นต้องมีโปรแกรมแปลภาษา คำสั่งของภาษาเครื่องนั้นจะประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วน คือ
1.1 ส่วนที่บอกประเภทของคำสั่ง (Operation Code หรือ Op-Code) เป็นส่วนที่ จะบอกให้เครื่องประมวลผล เช่น ให้ทำการบวก ลบ คูณ หาร หรือเปรียบเทียบ เป็นต้น
1.2 ส่วนที่บอกตำแหน่งของข้อมูล (Operand) เป็นส่วนที่บอกให้ทราบถึง ตำแหน่งหน่วยของข้อมูลที่จะนำมาคำนวณว่าอยู่ในตำแหน่ง (Address) ใดของหน่วยความจำ
2) ภาษาที่ใช้สัญลักษณ์ (Symbolic Language) ได้ปรับปรุงให้ง่ายขึ้นโดยสร้างรหัส (Mnemonic Code) และสัญลักษณ์ (Symbol) แทนตัวเลขซึ่งเรียกชื่อภาษาว่า ภาษาที่ใช้สัญลักษณ์ ลักษณะโครงสร้างของภาษาสัญลักษณ์จะใกล้เคียงกับภาษาเครื่องมากคือ ประกอบด้วย 2 ส่วนที่เรียกว่า Op - Code และ Operands โดยใช้อักษรที่มีความหมายและเข้าใจง่ายแทนตัวเลข
3) ภาษาระดับสูง (High - Level Language) เนื่องจากภาษาที่ใช้สัญลักษณ์ยังคงยากต่อการเข้าใจของมนุษย์ ประกอบกับความเจริญทางด้านซอฟต์แวร์มีมากขึ้น จึงได้มีการพัฒนาให้เป็นคำสั่งที่มีความหมายเหมือนกับภาษาที่มนุษย์ใช้กัน เพื่อให้สะดวกกับผู้เขียนโปรแกรม เช่น ใช้คำว่า PRINT หรือ WRITE แทนการสั่งพิมพ์ หรือแสดงคำว่าใช้คำว่า READ แทนการรับค่าข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นต้น ภาษาระดับสูง ตัวอย่างเช่น Visual Basic, C, C++, Java เป็นต้น
- คอมไพเลอร์ (Compiler) เป็นโปรแกรมภาษาซึ่งทำหน้าที่แปลคำสั่งในโปรแกรมต้นฉบับที่เขียนด้วยภาษาโปรแกรมระดับสูง ตามลำดับของชุดคำสั่ง และข้อมูลที่คอมพิวเตอร์สามารถปฏิบัติการได้
- อินเทอร์พรีเตอร์ (Interpreter) เป็นโปรแกรมภาษาซึ่งทำหน้าที่แปลคำสั่งในโปรแกรมต้นฉบับที่เขียนด้วยภาษาโปรแกรมระดับสูง และปฏิบัติการตามคำสั่งโดยตรงจากโปรแกรมต้นฉบับทันที จะแปลคำสั่งครั้งละหนึ่งคำสั่ง แล้วประมวลผลในทันที หลังจากนั้น จะรับคำสั่งถัดไปเพื่อแปลเป็นภาษาเครื่อง แล้วประมวลผลทันที เช่นนี้เรื่อยไปจนกว่าจะจบโปรแกรม หรือพบที่ผิดพลาดทางไวยากรณ์ในคำสั่งที่รับมาแปล

ความจำเป็นของการใช้ซอฟต์แวร์

ซอฟต์แวร์ (software) หมายถึงชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ใช้สั่งงานให้คอมพิวเตอร์ทำงาน ซอฟต์แวร์จึงหมายถึงลำดับขั้นตอนการทำงานที่เขียนขึ้นด้วยคำสั่งของคอมพิวเตอร์ คำสั่งเหล่านี้เรียงกันเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ จากที่ทราบมาแล้วว่าคอมพิวเตอร์ทำงานตามคำสั่ง การทำงานพื้นฐานเป็นเพียงการกระทำกับข้อมูลที่เป็นตัวเลขฐานสอง ซึ่งใช้แทนข้อมูลที่เป็นตัวเลข ตัวอักษร รูปภาพ หรือแม้แต่เป็นเสียงพูดก็ได้
โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้สั่งงานคอมพิวเตอร์จึงเป็นซอฟต์แวร์ เพราะเป็นลำดับขั้นตอนการทำงานของคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งทำงานแตกต่างกันได้มากมายด้วยซอฟต์แวร์ที่แตกต่างกัน ซอฟต์แวร์จึงหมายรวมถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ทุกประเภทที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้
การที่เราเห็นคอมพิวเตอร์ทำงานให้กับเราได้มากมาย เพราะว่ามีผู้พัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์มาให้เราสั่งงานคอมพิวเตอร์ ร้านค้าอาจใช้คอมพิวเตอร์ทำบัญชีที่ยุ่งยากซับซ้อน บริษัทขายตั๋วใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในระบบการจองตั๋ว คอมพิวเตอร์ช่วยในเรื่องกิจการงานธนาคารที่มีข้อมูลต่าง ๆ มากมาย คอมพิวเตอร์ช่วยงานพิมพ์เอกสารให้สวยงาม เป็นต้น การที่คอมพิวเตอร์ดำเนินการให้ประโยชน์ได้มากมายมหาศาลจะอยู่ที่ซอฟต์แวร์ ซอฟต์แวร์จึงเป็นส่วนสำคัญของระบบคอมพิวเตอร์ หากขาดซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ก็ไม่สามารถทำงานได้ ซอฟต์แวร์จึงเป็นสิ่งที่จำเป็น และมีความสำคัญมาก และเป็นส่วนประกอบหนึ่งที่ทำให้ระบบสารสนเทศเป็นไปได้ตามที่ต้องการ
ซอฟท์แวร์และภาษาคอมพิวเตอร์
เมื่อมนุษย์ต้องการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการทำงาน มนุษย์จะต้องบอกขั้นตอนวิธีการให้คอมพิวเตอร์ทราบ การที่บอกสิ่งที่มนุษย์เข้าใจให้คอมพิวเตอร์รับรู้ และทำงานได้อย่างถูกต้อง จำเป็นต้องมีสื่อกลาง ถ้าเปรียบเทียบกับชีวิตประจำวันแล้ว เรามีภาษาที่ใช้ในการติดต่อซึ่งกันและกัน เช่นเดียวกันถ้ามนุษย์ต้องการจะถ่ายทอดความต้องการให้คอมพิวเตอร์รับรู้และปฏิบัติตาม จะต้องมีสื่อกลางสำหรับการติดต่อเพื่อให้คอมพิวเตอร์รับรู้ เราเรียกสื่อกลางนี้ว่าภาษาคอมพิวเตอร์
เนื่องจากคอมพิวเตอร์ทำงานด้วยสัญญาณทางไฟฟ้า ใช้แทนด้วยตัวเลข 0 และ 1 ได้ ผู้ออกแบบคอมพิวเตอร์ใช้ตัวเลข 0 และ 1 นี้เป็นรหัสแทนคำสั่งในการสั่งงานคอมพิวเตอร์ รหัสแทนข้อมูลและคำสั่งโดยใช้ระบบเลขฐานสองนี้ คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ เราเรียกเลขฐานสองที่ประกอบกันเป็นชุดคำสั่งและใช้สั่งงานคอมพิวเตอร์ว่าภาษาเครื่อง
การใช้ภาษาเครื่องนี้ถึงแม้คอมพิวเตอร์จะเข้าใจได้ทันที แต่มนุษย์ผู้ใช้จะมีข้อยุ่งยากมาก เพราะเข้าใจและจดจำได้ยาก จึงมีผู้สร้างภาษาคอมพิวเตอร์ในรูปแบบที่เป็นตัวอักษร เป็นประโยคข้อความ ภาษาในลักษณะดังกล่าวนี้เรียกว่า ภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูง ภาษาระดับสูงมีอยู่มากมาย บางภาษามีความเหมาะสมกับการใช้สั่งงานการคำนวณทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ บางภาษามีความเหมาะสมไว้ใช้สั่งงานทางด้านการจัดการข้อมูล
ในการทำงานของคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์จะแปลภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่อง ดังนั้นจึงมีผู้พัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับแปลภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่อง โปรแกรมที่ใช้แปลภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่องเรียกว่า คอมไพเลอร์ (compiler) หรืออินเทอร์พรีเตอร์ (interpreter)
คอมไพเลอร์จะทำการแปลโปรแกรมที่เขียนเป็นภาษาระดับสูงทั้งโปรแกรมให้เป็นภาษาเครื่องก่อน แล้วจึงให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามภาษาเครื่องนั้น
ส่วนอินเทอร์พรีเตอร์จะทำการแปลทีละคำสั่ง แล้วให้คอมพิวเตอร์ทำตามคำสั่งนั้น เมื่อทำเสร็จแล้วจึงมาทำการแปลคำสั่งลำดับต่อไป ข้อแตกต่างระหว่างคอมไพเลอร์กับอินเทอร์พรีเตอร์จึงอยู่ที่การแปลทั้งโปรแกรมหรือแปลทีละคำสั่ง ตัวแปลภาษาที่รู้จักกันดี เช่น ตัวแปลภาษาเบสิก ตัวแปลภาษาโคบอล
ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์จึงเป็นส่วนสำคัญที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ให้ดำเนินการตามแนวความคิดที่ได้กำหนดไว้ล่วงหน้าแล้ว คอมพิวเตอร์ต้องทำงานตามโปรแกรมเท่านั้น ไม่สามารถทำงานที่นอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในโปรแกรม
ชนิดของซอฟต์แวร์
ในบรรดาซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่มีผู้พัฒนาขึ้นเพื่อใช้งานกับคอมพิวเตอร์มีมากมาย ซอฟต์แวร์เหล่านี้อาจได้รับการพัฒนาโดยผู้ใช้งานเอง หรือผู้พัฒนาระบบ หรือผู้ผลิตจำหน่าย หากแบ่งแยกชนิดของซอฟต์แวร์ตามสภาพการทำงาน พอแบ่งแยกซอฟต์แวร์ได้เป็นสองประเภท คือ ซอฟต์แวร์ระบบ (system software) และซอฟต์แวร์ประยุกต์ (application software)
 ซอฟต์แวร์ระบบ คือซอฟต์แวร์ที่บริษัทผู้ผลิตสร้างขึ้นมาเพื่อใช้จัดการกับระบบ หน้าที่การทำงานของซอฟต์แวร์ระบบคือดำเนินงานพื้นฐานต่าง ๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ เช่น รับข้อมูลจากแผงแป้นอักขระแล้วแปลความหมายให้คอมพิวเตอร์เข้าใจ นำข้อมูลไปแสดงผลบนจอภาพหรือนำออกไปยังเครื่องพิมพ์ จัดการข้อมูลในระบบแฟ้มข้อมูลบนหน่วยความจำรอง
เมื่อเราเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ทันทีที่มีการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์จะทำงานตามโปรแกรมทันที โปรแกรมแรกที่สั่งคอมพิวเตอร์ทำงานนี้เป็นซอฟต์แวร์ระบบ ซอฟต์แวร์ระบบอาจเก็บไว้ในรอม หรือในแผ่นจานแม่เหล็ก หากไม่มีซอฟต์แวร์ระบบ คอมพิวเตอร์จะทำงานไม่ได้
ซอฟต์แวร์ระบบยังใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาซอฟต์แวร์อื่น ๆ และยังรวมไปถึงซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการแปลภาษาต่าง ๆ
 ซอฟต์แวร์ประยุกต์ เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้กับงานด้านต่าง ๆ ตามความต้องการของผู้ใช้ ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้โดยตรง ปัจจุบันมีผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ใช้งานทางด้านต่าง ๆ ออกจำหน่ายมาก การประยุกต์งานคอมพิวเตอร์จึงกว้างขวางและแพร่หลาย เราอาจแบ่งซอฟต์แวร์ประยุกต์ออกเป็นสองกลุ่มคือ ซอฟต์แวร์สำเร็จ และซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นใช้งานเฉพาะ ซอฟต์แวร์สำเร็จในปัจจุบันมีมากมาย เช่น ซอฟต์แวร์ประมวลคำ ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน ฯลฯ

ซอฟท์แวร์ระบบ
คอมพิวเตอร์ประกอบด้วย หน่วยรับเข้า หน่วยส่งออก หน่วยความจำ และหน่วยประมวลผล ในการทำงานของคอมพิวเตอร์จำเป็นต้องมีการดำเนินงานกับอุปกรณ์พื้นฐานที่จำเป็น ดังนั้นจึงต้องมีซอฟต์แวร์ระบบเพื่อใช้ในการจัดการระบบ หน้าที่หลักของซอฟต์แวร์ระบบประกอบด้วย
1. ใช้ในการจัดการหน่วยรับเข้าและหน่วยส่งออก เช่น รับการกดแป้นต่าง ๆ บนแผงแป้นอักขระ ส่งรหัสตัวอักษรออกทางจอภาพหรือเครื่องพิมพ์ ติดต่อกับอุปกรณ์รับเข้า และส่งออกอื่น ๆ เช่น เมาส์ อุปกรณ์สังเคราะห์เสียง
2. ใช้ในการจัดการหน่วยความจำ เพื่อนำข้อมูลจากแผ่นบันทึกมาบรรจุยังหน่วยความจำหลัก หรือในทำนองกลับกัน คือนำข้อมูลจากหน่วยความจำหลักมาเก็บไว้ในแผ่นบันทึก
3. ใช้เป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างผู้ใช้งานกับคอมพิวเตอร์ สามารถใช้งานได้ง่ายขึ้น เช่น การขอดูรายการสารบบในแผ่นบันทึก การทำสำเนาแฟ้มข้อมูล
ซอฟต์แวร์ระบบพื้นฐานที่เห็นกันทั่วไป แบ่งออกเป็นระบบปฏิบัติการ และตัวแปลภาษา ซอฟต์แวร์ทั่งสองประเภทนี้ทำให้เกิดพัฒนาการประยุกต์ใช้งานได้ง่ายขึ้น
• ระบบปฏิบัติการ
ระบบปฏิบัติการ หรือที่เรียกย่อ ๆ ว่า โอเอส (Operating System : OS) เป็นซอฟต์แวร์ใช้ในการดูแลระบบคอมพิวเตอร์ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะต้องมีซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการนี้ ระบบปฏิบัติการที่นิยมใช้กันมากและเป็นที่รู้จักกันดีเช่นดอส (Disk Operating System : DOS) วินโดวส์ (Windows) โอเอสทู (OS/2) ยูนิกซ์ (UNIX)
1) ดอส เป็นซอฟต์แวร์จัดระบบงานที่พัฒนามานานแล้ว การใช้งานจึงใช้คำสั่งเป็นตัวอักษร ดอสเป็นซอฟต์แวร์ที่รู้จักกันดีในหมู่ผู้ใช้ไมโครคอมพิวเตอร์
2) วินโดวส์ เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนาต่อจากดอส เพื่อเน้นการใช้งานที่ง่ายขึ้น สามารถทำงานหลายงานพร้อมกันได้ โดยงานแต่ละงานจะอยู่ในกรอบช่องหน้าต่างที่แสดงผลบนจอภาพ การใช้งานเน้นรูปแบบกราฟิก ผู้ใช้งานสามารถใช้เมาส์เลื่อนตัวชี้ตำแหน่งเพื่อเลือกตำแหน่งที่ปรากฏบนจอภาพ ทำให้ใช้งานคอมพิวเตอร์ได้ง่าย วินโดวส์จึงได้รับความนิยมในปัจจุบัน
3) โอเอสทู เป็นระบบปฏิบัติการแบบเดียวกับวินโดว์ส แต่บริษัทผู้พัฒนาคือ บริษัทไอบีเอ็ม เป็นระบบปฏิบัติการที่ให้ผู้ใช้สามารถใช้ทำงานได้หลายงานพร้อมกัน และการใช้งานก็เป็นแบบกราฟิกเช่นเดียวกับวินโดวส์
4) ยูนิกซ์ เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนามาตั้งแต่ครั้งใช้กับเครื่องมินิคอมพิวเตอร์ ระบบปฎิบัติการยูนิกซ์เป็นระบบปฏิบัติการที่สามารถใช้งานได้หลายงานพร้อมกัน และทำงานได้หลาย ๆ งานในเวลาเดียวกัน ยูนิกซ์จึงใช้ได้กับเครื่องที่เชื่อมโยงและต่อกับเครื่อปลายทางได้หลายเครื่องพร้อมกัน
ระบบปฏิบัติการยังมีอีกมาก โดยเฉพาะระบบปฏิบัติการที่ใช้ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานร่วมกันเป็นระบบ เช่น ระบบปฏิบัติการเน็ตแวร์ วินโดว์สเอ็นที
• ตัวแปลภาษา
ในการพัฒนาซอฟต์แวร์จำเป็นต้องมีซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการแปลภาษาระดับสูง เพื่อแปลภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่อง ภาษาระดับสูงมีหลายภาษา ภาษาระดับสูงเหล่านี้สร้างขึ้นเพื่อให้ผู้เขียนโปรแกรมเขียนชุดคำสั่งได้ง่าย เข้าใจได้ ตลอดจนถึงสามารถปรับปรุงแก้ไขซอฟต์แวร์ในภายหลังได้
ภาษาระดับสูงที่พัฒนาขึ้นมาทุกภาษาจะต้องมีตัวแปลภาษาสำหรับแปลภาษา ภาษาระดับสูงซึ่งเป็นที่รู้จักและนิยมกันมากในปัจจุบัน เช่น ภาษาปาสคาล ภาษาเบสิก ภาษาซี และภาษาโลโก
1) ภาษาปาสคาล เป็นภาษาสั่งงานคอมพิวเตอร์ที่มีรูปแบบเป็นโครงสร้าง เขียนสั่งงานคอมพิวเตอร์เป็นกระบวนความ ผู้เขียนสามารถแบ่งแยกงานออกเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วมารวมกันเป็นโปรแกรมขนาดใหญ่ได้
2) ภาษาเบสิก เป็นภาษาที่มีรูปแบบคำสั่งไม่ยุ่งยาก สามารถเรียนรู้และเข้าใจได้ง่าย มีรูปแบบคำสั่งพื้นฐานที่สามารถนำมาเขียนเรียงต่อกันเป็นโปรแกรมได้
3) ภาษาซี เป็นภาษาที่เหมาะสำหรับใช้ในการพัฒนาซอฟต์แวร์อื่น ๆ ภาษาซีเป็นภาษาที่มีโครงสร้างคล่องตัวสำหรับการเขียนโปรแกรมหรือให้คอมพิวเตอร์ติดต่อกับอุปกรณ์ต่าง ๆ
4) ภาษาโลโก เป็นภาษาที่เหมาะสำหรับการเรียนรู้และเข้าใจหลักการโปรแกรมภาษาโลโกได้รับการพัฒนาสำหรับเด็ก
นอกจากภาษาที่กล่าวถึงแล้ว ยังมีภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันอีกมากมายหลายภาษา เช่น ภาษาฟอร์แทรน ภาษาโคบอล ภาษาอาร์พีจี
ซอฟท์แวร์ประยุกต์
การที่เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ได้พัฒนาก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะการที่มีคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ทำให้มีการใช้งานคล่องตัวขึ้น จนในปัจจุบันสามารถนำคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ติดตัวไปใช้งานในที่ต่าง ๆ ได้สะดวก
การใช้งานคอมพิวเตอร์ต้องมีซอฟตืแวร์ประยุกต์ ซึ่งอาจเป็นซอฟต์แวร์สำเร็จที่มีผู้พัฒนาเพื่อใช้งานทั่วไปทำให้ทำงานได้สะดวกขึ้น หรืออาจเป็นซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะ ซึ่งผู้ใช้เป็นผู้พัฒนาขึ้นเองเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพการทำงานของตน
• ซอฟต์แวร์สำเร็จ
ในบรรดาซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่มีใช้กันทั่วไป ซอฟต์แวร์สำเร็จ (package) เป็นซอฟต์แวร์ที่มีความนิยมใช้กันสูงมาก ซอฟต์แวร์สำเร็จเป็นซอฟต์แวร์ที่บริษัทพัฒนาขึ้น แล้วนำออกมาจำหน่าย เพื่อให้ผู้ใช้งานซื้อไปใช้ได้โดยตรง ไม่ต้องเสียเวลาในการพัฒนาซอฟต์แวร์อีก ซอฟต์แวร์สำเร็จที่มีจำหน่ายในท้องตลาดทั่วไป และเป็นที่นิยมของผู้ใช้มี 5 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ ซอฟต์แวร์ประมวลคำ (word processing software) ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน (spread sheet software) ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล (data base management software) ซอฟต์แวร์นำเสนอ (presentation software) และซอฟต์แวร์สื่อสารข้อมูล (data communication software)
1) ซอฟต์แวร์ประมวลคำ เป็นซอฟต์แวร์ประยุกต์ใช้สำหรับการพิมพ์เอกสาร สามารถแก้ไข เพิ่ม แทรก ลบ และจัดรูปแบบเอกสารได้อย่างดี เอกสารที่พิมพ์ไว้จัดเป็นแฟ้มข้อมูล เรียกมาพิมพ์หรือแก้ไขใหม่ได้ การพิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์ก็มีรูปแบบตัวอักษรให้เลือกหลายรูปแบบ เอกสารจึงดูเรียบร้อยสวยงาม ปัจจุบันมีการเพิ่มขีดความสามารถของซอฟต์แวร์ประมวลคำอีกมากมาย ซอฟต์แวร์ประมวลคำที่นิยมอยู่ในปัจจุบัน เช่น วินส์เวิร์ด จุฬาจารึก โลตัสเอมิโปร
2) ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน เป็นซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการคิดคำนวณ การทำงานของซอฟต์แวร์ตารางทำงาน ใช้หลักการเสมือนมีโต๊ะทำงานที่มีกระดาษขนาดใหญ่วางไว้ มีเครื่องมือคล้ายปากกา ยางลบ และเครื่องคำนวณเตรียมไว้ให้เสร็จ บนกระดาษมีช่องให้ใส่ตัวเลข ข้อความหรือสูตร สามารถสั่งให้คำนวณตามสูตรหรือเงื่อนไขที่กำหนด ผู้ใช้ซอฟต์แวร์ตารางทำงานสามารถประยุกต์ใช้งานประมวลผลตัวเลขอื่น ๆ ได้กว้างขวาง ซอฟต์แวร์ตารางทำงานที่นิยมใช้ เช่น เอกเซล โลตัส
3) ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล การใช้คอมพิวเตอร์อย่างหนึ่งคือการใช้เก็บข้อมูล และจัดการกับข้อมูลที่จัดเก็บในคอมพิวเตอร์ จึงจำเป็นต้องมีซอฟต์แวร์จัดการข้อมูล การรวบรวมข้อมูลหลาย ๆ เรื่องที่เกี่ยวข้องกันไว้ในคอมพิวเตอร์ เราก็เรียกว่าฐานข้อมูล ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูลจึงหมายถึงซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการเก็บ การเรียกค้นมาใช้งาน การทำรายงาน การสรุปผลจากข้อมูล ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูลที่นิยมใช้ เช่น เอกเซส ดีเบส พาราด็อก ฟ๊อกเบส
4) ซอฟต์แวร์นำเสนอ เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้สำหรับนำเสนอข้อมูล การแสดงผลต้องสามารถดึงดูดความสนใจ ซอฟต์แวร์เหล่านี้จึงเป็นซอฟต์แวร์ที่นอกจากสามารถแสดงข้อความในลักษณะที่จะสื่อความหมายได้ง่ายแล้วจะต้องสร้างแผนภูมิ กราฟ และรูปภาพได้ ตัวอย่างของซอฟต์แวร์นำเสนอ เช่น เพาเวอร์พอยต์ โลตัสฟรีแลนซ์ ฮาร์วาร์ดกราฟิก
5) ซอฟต์แวร์สื่อสารข้อมูล ซอฟต์แวร์สื่อสารข้อมูลนี้หมายถึงซอฟต์แวร์ที่จะช่วยให้ไมโครคอมพิวเตอร์ติดต่อสื่อสารกับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นในที่ห่างไกล โดยผ่านทางสายโทรศัพท์ ซอฟต์แวร์สื่อสารใช้เชื่อมโยงต่อเข้ากับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เช่น อินเทอร์เน็ต ทำให้สามารถใช้บริการอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ สามารถใช้รับส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ใช้โอนย้ายแฟ้มข้อมูล ใช้แลกเปลี่ยนข้อมูล อ่านข่าวสาร นอกจากนี้ยังใช้ในการเชื่อมเข้าหามินิคอมพิวเตอร์หรือเมนเฟรม เพื่อเรียกใช้งานจากเครื่องเหล่านั้นได้ ซอฟต์แวร์สื่อสารข้อมูลที่นิยมมีมากมายหลายซอฟต์แวร์ เช่น โปรคอม ครอสทอล์ค เทลิก
• ซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะ
การประยุกต์ใช้งานด้วยซอฟต์แวร์สำเร็จมักจะเน้นการใช้งานทั่วไป แต่อาจจะนำมาประยุกต์โดยตรงกับงานทางธุรกิจบางอย่างไม่ได้ เช่นในกิจการธนาคาร มีการฝากถอนเงิน งานทางด้านบัญชี หรือในห้างสรรพสินค้าก็มีงานการขายสินค้า การออกใบเสร็จรับเงิน การควบคุมสินค้าคงคลัง ดังนั้นจึงต้องมีการพัฒนาซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะสำหรับงานแต่ละประเภทให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้แต่ละราย
ซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะมักเป็นซอฟต์แวร์ที่ผู้พัฒนาต้องเข้าไปศึกษารูปแบบการทำงานหรือความต้องการของธุรกิจนั้น ๆ แล้วจัดทำขึ้น โดยทั่วไปจะเป็นซอฟต์แวร์ที่มีหลายส่วนรวมกันเพื่อร่วมกันทำงาน ซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะที่ใช้กันในทางธุรกิจ เช่น ระบบงานทางด้านบัญชี ระบบงานจัดจำหน่าย ระบบงานในโรงงานอุตสาหกรรม บริหารการเงิน และการเช่าซื้อ
ความต้องการของการใช้คอมพิวเตอร์ในงานทางธุรกิจยังมีอีกมาก ดังนั้นจึงต้องมีความต้องการผู้พัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อพัฒนาซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะต่าง ๆ อีกมากมาย

เว็บไซต์ http://web.ku.ac.th/schoolnet/snet1/software/software/




ซอฟต์แวร์ และ ภาษาคอมพิวเตอร์

ซอฟต์แวร์ (Software) คือ โปรแกรมคำสั่งที่สั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงาน โดยโปรแกรมจะถูกเก็บไว้ในหน่วยความจำ หลังจากนั้นเครื่องจะทำงานด้วยตนเองตามโปรแกรมภายใต้การควบคุมของหน่วยควบคุม (Control Unit)

ซอฟต์แวร์แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ
1. โปรแกรมระบบ (System Program หรือ System Software)
2. โปรแกรมประยุกต์ (Application Program หรือ Application Software)

1. โปรแกรมระบบ คือ โปรแกรมที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์
ฮาร์ดแวร์ให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำหน้าที่จัดระบบการเก็บข้อมูล การรับส่งข้อมูลเก็บข้อมูลลงในหน่วยความจำ โดยบริษัทผู้ผลิตเครื่องจำให้โปรแกรมระบบมาพร้อมกับเครื่องส่วนสำคัญที่เป็นแกนหลักของโปรแกรมระบบ คือ ระบบปฏิบัติการ (OS : Operating System)
ระบบปฏิบัติการ คือ กลุ่มโปรแกรมซึ่งได้รับการจัดระเบียบให้เป็นส่วนเชื่อมโยงระหว่างเครื่องและผู้ใชเครื่อง โดยจะเอื้ออำนวยการใช้โปรแกรมต่าง ๆ รวมถึงการจัดสรรทรัพยากร (resource) ต่าง ๆ ให้มีประสิทธิภาพ
หน้าที่ของระบบปฏิบัติการ สามารถแบ่งได้เป็น 2 ส่วนใหญ่ ๆ คือ
1. ควบคุมการทำงานของโปรแกรมและอุปกรณ์ต่าง ๆ โดยเฉพาะอุปกรณ์รับข้อมูล และแสดงผลลัพธ์ (Input/Output Device) และ ให้ผู้ใช้สามารถใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ได้อย่างสะดวกสำหรับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ ระบบปฏิบัติการจะเป็นแบบง่าย ๆ และทำหน้าที่ควบคุมและให้ความสะดวกแก่ผู้ใช้เครื่อง
2. จัดสรรทรัพยากรซึ่งใช่ร่วมกัน (Shared Resource) หน้าที่นี้จะเห็นได้ชัดในเครื่องเมนเฟรม (Mainframe) ซึ่งจะมีอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น หน่วยประมวลผลกลาง หน่วยความจำ เป็นต้น มีการใช้ทรัพยากรเหล่านี้ร่วมกัน ในลักษณะของระบบมัลติโปรแกรมมิ่ง (Multiprogramming) ดังนั้นหน้าที่ของระบบปฏิบัติการ จึงต้องครอบคลุมถึงการจัดสรรทรัพยากรเหล่านี้ โดยคำนึงถึงความยุติธรรมต่อผู้ใช้แต่ละคน และประสิทธิผลของเครื่องเป็นหลักสำคัญ

ระบบปฏิบัติการ (OS)
ระบบปฏิบัติการมีหลายชนิดที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ ได้แก่ ซีพี/เอ็ม (CP/M) ดอส (DOS) รวมทั้ง MS-DOS และ PC-DOS วินโดวส์(Windows) โอเอส/ทู(OS/2) ยูนิกซ์(Unix) ซิสเต็ม 8 (System ของแมคอินทอซ
ดอส (DOS)
เป็นระบบปฏิบัติการที่มีลักษณะการทำงานเป็นแบบงานเดี่ยว (Single - tasking) เมื่อ
บริษัท IBM ได้เข้ามาสู่ตลาดไมโครคอมพิวเตอร์ โดยสร้างเครื่อง IBM PC ขึ้นมา บริษัท IBM ได้ว่าจ้าง บริษืไมโครงซอฟต์ให้พัฒนาระบบปฏิบัติการ (OS) ขึ้นซึ่งเรียกสั้น ๆ ว่า ดอส ที่จริงแล้วดอสมีสองรุ่นใหญ่ ๆ คือ PC-DOS ใช้กับเครื่อง IBM PC และในขณะเดียวกัน บริษัทไมโครซอฟต์ก็พัฒนา MS-DOS ขึ้นมาใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่คอมพแพคทิเบิล (Compatible) กับเครื่อง IBM ทุกเครื่องซึ่งทั้ง PC-DOS และ MS-DOS มีคุณสมบัติเหมือนกันทุกประการ ดอสได้มีการเปลี่ยนแปลงมาหลายรุ่น (Version) แต่ละรุ่นก็ได้เพิ่มขีดความสามารถในการทำงานให้สอดคล้องกับวิวัฒนาการของเครื่อง PC
วินโดวส์ (Windows)
ประมาณต้นปี ค.ศ.1990 บริษัทไมโครซอฟต์ได้ผลิตวินโดวส์ 3.0 ซึ่งนำมาใช้ในการติดต่อแบบกราฟิก (Graphical Interface) ด้วยไอคอน (Icon) และใช้เม้าส์ (Mouse) แทนคีย์บอร์ด (Key board) นอกจากนี้วินโดวส์ 3.0 ขึ้นไปยังสามารถทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ใช้งานโปรแกรมได้มากกว่าหนึ่งโปรแกรมในขณะเดียวกันเรียกว่า มัลติทาสกิ้ง (Multitasking) โดยระบบวินโดวส์จะสามารถทำให้โปรแกรมถูกโหลดเข้าไปในหน่วยความจำได้พร้อมกัน แล้วจะสามารถแบ่งจอภาพออกเป็นหน้าต่างเล็ก ๆ แต่ละหน้าต่างก็จะแสดงการทำงานของแต่ละโปรแกรมซึ่งแตกต่างกัน และยิ่งไปกว่านั้นยังสามารถคัดลอกข้อความหรือภาพระหว่างโปรแกรมได้
ต่อมาในปี ค.ศ.1995 บริษัทไมโครซอฟต์ ได้ผลิตวินโดวส์ 95 (Windows) ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการแบบ 32 บิท ลักษณะเด่นของวินโดวส์ 95 คือความสามารถในด้านระบบเครือข่าย สามารถเชื่อมโยงเข้าสู่เครือข่ายขนาดใหญ่ได้ สามารถใช้แอปพลิเคชันที่วันบนวินโดว์ 3.1 ได้เลยโดยไม่ต้องแก้ไข และซอฟต์แวร์ที่รับนบวินโดวส์ 95 มีความสามารถ แฟกซ์ E-mail ได้อีกด้วย หลังจากนั้นบริษัท ไมโครซอฟต์ก็ได้ผลิตวินโดวส์ 97 และวินโดวส์ 98 ออกมาใช้


โอเอส/ทู (OS/2 : Operating System 2)
เมื่อบริษัท IBM ได้นำเครื่องคอมพิวเตอร์ PS/2 เข้าสู่ตลาดก็ได้ติดต่อให้บริษัทไมโครซอฟต์ พัฒนาระบบปฏิบัติการตัวใหม่ ที่มีขีดความสามารถติดต่อกับผู้ใช้แบบการฟิกและสามารถทำงานแบบมัลติทาสกิ้งได้ แต่ OS/2 ที่ผลิตออกมาในขณะนั้นไม่เป็นที่นิยม เพราะต้องใช้หน่วยความจำขนาดใหญ่ และโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้กับ OS/2 ก็มีน้อย

ยูนิกซ์ (Unix)
เป็นระบบปฏิบัติการที่ใหญ่และค่อนข้างสลับซับซ้อน มีขีดความสามารถสูงกว่าอย่างอื่นสามารถใช้งานในลักษณะมัลติทาสกิ้ง คือสามารถใช้งานได้หลาย ๆ โปรแกรมพร้อมกัน และเป็นแบบมัลติยูสเซอร์ (Multiuser) คือ มีผู้ใช้หลาย ๆ คนพร้อมกัน โดยปกติยูนิกซ์เป็นระบบที่พัฒนาใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ เช่น เครื่องเมนเฟรม มินิคอมพิวเตอร์ และ เวิร์กสเตชั่น (Workstation) ปัจจุบันยูนิกซ์ได้พัฒนาใช้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ระดับ 386 Dx ขึ้นไป มีการติดตั้งหน่วยความจำหลักไม่ต่ำกว่า 8 เมกะไบท์ มีฮาร์ดดิสก์ขนาดความจุไม่น้อยกว่า 100 เมกะไบท์ถึงแม้วินโดวส์และโอเอส/ทู จะมีความสามารถในการทำมัลติทาสกิ้ง เข่นเดียวกับยูนิกซ์ แต่จะไม่มีคุณสมบัติในด้านมัลติยูสเซอร์ เช่น ยูนิกซ์ ซึ่งคุณสมบัติระบบปฏิบัติการยูนิกซ์แบบมัลติทาสกิ้ง (Multitasking) และมัลติยูสเซอร์นี้ ทำให้เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ธรรมดา ๆ ที่ติดตั้งระบบปฏิบัติการยูนิกซ์สามารถทำงานรองรับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มียูสเซอร์ต่อเชื่อมเข้ามาได้มากถึง 120 ตัวไปพร้อม ๆ กันและเหมาะสมสำหรับระบบเน็ตเวิร์ก (Network) นอกจากนั้นระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ยังสามารถรัน (Run) ได้บนแพลตฟอร์มหลาย ๆ ระดับ ทั้งบนเครื่องเมนเฟรม มินิคอมพิวเตอร์และเครื่องไมโครงคอมพิวเตอร์ ทำให้สามารถเคลื่อนย้ายงานและแอพพลิเคชั่นไปมาระหว่างแพลตฟอร์มได้ และสามารถย้ายงานที่รันอยู่บนดอส หรือวินโดวส์มาใช้บนระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ได้

ซิสเต็ม 8 (System
ซิสเต็ม 8 เป็นระบบปฏิบัติการของแมคอินทอธ (Macintosh) มีความสามารถในการทำมัลติทางกิ้งและสามารถใช้งานต่าง ๆ กัน เช่น ทำการพิมพ์ในขณะที่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์อยู่ก็ได เหมาะกับงานได้ด้านเดสทอปพับลิชชิ่ง (Desktop Publishing) ซึ่งหมายถึงการออกแบบและพิมพ์เอกสารหรือหนังสือโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เปรียบเหมือนโรงพิมพ์ตั้งโต๊ะ

2. โปรแกรมประยุกต์ คือโปรแกรมที่โปรแกรมเมอร์เขียนขึ้นด้วยภาษาคอมพิวเตอร์
ภาษาใดภาษาหนึ่ง เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำการประมวลผลให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ โปรแกรมประยุกต์ มี 2 อย่าง คือ
2.1 โปรแกรมสำเร็จรูป (Package Program) เป็นโปรแกรมที่บริษัทซอฟต์แวร์ต่าง ๆ จัดทำขึ้นมาเพื่อใช้กับงานนั้น ๆ ได้เลย โดยผู้ใช้ไม่ต้องเขียนโปรแกรมขึ้นมาเองเป็นการประหยัดเวลา แรงงานและค่าใช้จ่าย
ปัจจุบันโปรแกรมสำเร็จรูปแบ่งเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ดังนี้
ก. โปรแกรมสำเร็จรูปเกี่ยวกับการจัดการฐานข้อมูล (Data Base Management Software)
ข. โปรแกรมสำเร็จรูปเกี่ยวกับการจัดพิมพ์รายงาน (Word Processing Software)
ค. โปรแกรมสำเร็จรูปทางด้านการคำนวณ (Calculation Software)
ง. โปรแกรมสำเร็จรูปกับงานธุรกิจ (Business Software)
ก. โปรแกรมสำเร็จรูปเกี่ยวกับการจัดการฐานข้อมูล
ระบบการจัดการฐานข้อมูล (DBMS : Data Base Management System) คือโปรแกรมที่เก็บรวบรวมข้อมูลที่มีอยู่ให้เป็นหมวดหมู่โดยทำหน้าที่สร้างฐายข้อมูล และเป็นตัวคอยดูแลจัดการเรียกใช้และแก้ไขข้อมูลในฐานข้อมูลนั้น หน้าที่สำคัญของระบบการจัดการฐานข้อมูล (DBMS) คือเป็นสื่อกลางระหว่างผู้ใช้กับฐานข้อมูลโดยผู้ใช้ไม่ต้องสนใจเกี่ยวกับโครงสร้างของข้อมูลที่จัดเก็บจริง ตัวอย่าง โปรแกรม เช่น dBASE III PLUS, Foxbase, FoxPro, ORACLE, INFORMIXเป็นต้น
ข. โปรแกรมสำเร็จรูปเกี่ยวกับการจัดพิมพ์รายงาน
เป็นโปรแกรมสำเร็จรูปประเภทประมวลผลคำ (Word Processing) โปรแกรมสำเร็จรูปประเภทนี้จะอำนวยความสะดวก ในเรื่องการจัดพิมพ์ได้ดีมาก สามารถทำงานได้อย่างรวดเร็วแล้วแต่คุณสมบัติของแต่ละโปรแกรมในการจัดพิมพ์งาน เช่น การจัดพิมพ์ข้อความ การจัดหน้า การจัดคำ จัดจำนวนบรรทัดต่อหน้าย่อหน้าต่าง ๆ การเลือกรูปแบบตัวอักษร เช่น Word Star, Word erfect, Cu Writer, เวิร์ดราชวิถี, Microsoft Word, Page Maker เป็นต้น

ภาษาคอมพิวเตอร์ (Computer Languages)
ภาษาคอมพิวเตอร์ คือภาษที่ใช้ในการติดต่อกับคอมพิวเตอร์โดยถูกนำมาเขียนเป็นชุดคำสั่ง (Program) ให้เครื่องทำงานตามคำสั่งของภาษานั้น ในปัจจุบันภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้สำหรับเขียนโปรแกรมมีมากมายหลายภาษา ซึ่งแต่ละภาษาจะมีกฎเกณฑ์และวิธีการเขียนโปรแกรมแต่ต่างกัน ภาษาคอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็น 2 ระดับ คือ
1. ภาษาระดับต่ำ (Low Level Language)
2. ภาษาระดับสูง (High Level Language)

1. ภาษาระดับต่ำ (Low Level Language)
เป็นภาษาที่ใช้ในยุคแรก ๆ จะมีความยุ่งยากในการเขียนมากแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
1.1 ภาษาเครื่อง (Machine Language)
1.2 ภาษาแอสแซมบลี (Assembly Language)

1.1 ภาษาเครื่อง (Machine Language)
เป็นภาษาหรือคำสั่งที่ใช้ในการสั่งงานหรือติดต่อกับเครื่องโดยตรงลักษณะสำคัญ
ของภาษาเครื่องจะประกอบด้วยรหัสของเลขฐานสองซึ่งเทียบได้กับลักษณะของสัญญาณทางไฟฟ้าเข้ากับหลักการทำงานของเครื่องซึ่งเครื่องสามารถเข้าใจและพร้อมที่จะทำงานตามคำสั่งได้ทันทีภาษาเครื่องจะมีกฏเกณฑ์ทางไวยากรณ์ค่อนข้างจำกัด โปรแกรมมีลักษณะค่อนข้างยุ่งยากซับซ้อน รหัสโครงสร้างของแต่ละคำสั่งของภาษาเครื่องจะประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วน คือ
ก. รหัสบอกประเภทของคำสั่ง (Operation Code หรือ Op-Code) เป็นส่วนที่บอกคำสั่งให้เครื่องทำการประมวลผล เช่นให้ทำการบวก ลบ คูณ หาร หรือเปรียบเทียบ
ข. รหัสบอกตำแหน่งข้อมูล (Operand) เป็นส่วนที่บอกว่าข้อมูลที่จะนำมาประมวลผลนั้นเก็บอยู่ในตำแหน่ง (Address) ใดของหน่วยความจำ
ลักษณะของโปรแกรมจะประกอบด้วยกลุ่มของรหัสคำสั่ง ซึ่งประกอบด้วยเลข
ฐานสองเรียงต่อกัน ซึ่งผู้เขียนโปรแกรมจะต้องทราบถึงเทคนิคการใช้รหัสคำสั่งและจะต้องจำตำแหน่งของคำสั่งของข้อมูลที่ถูกเก็บไว้ เพราะเนื่องจากเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละบริษัทจะใช้ภาษาเครื่องของตนเอง และผู้เขียนโปรแกรมจะต้องเข้าใจระบบการทำงานของเครื่องเป็นอย่างดี ดังนั้นการเขียนโปรแกรมเป็นภาษาเครื่องจึงมีผู้เขียนอยู่ในวงจำกัด เพราะต้องมีความรู้ทางด้านเครื่องและรหัสของเครื่องด้วยจึงจะเขียนโปรแกรมได้ ภาษาเครื่องของคอมพิวเตอร์แต่ละระบบจะแตกต่างกัน ทำให้เกิดความไม่สะดวกเมื่อมีการเปลี่ยนเครื่องคอมพิวเตอร์ระบบใหม่ก็จะต้องเขียนโปรแกรมใหม่
ข้อดี ของภาษาเครื่อง
1. เมื่อคำสั่งเข้าสู่เครื่องจะสามารถทำงานได้ทันที
2. สามารถสร้างคำสั่งใหม่ ๆ ได้ โดยที่ภาษาอื่นทำไม่ได้
3. ต้องการหน่วยความจำเพียงเล็กน้อย
ข้อเสีย ของภาษาเครื่อง
1. ต้องเขียนโปรแกรมคำสั่งยาวทำให้ผิดพลาดได้ง่าย
2. ผู้เขียนโปรแกรมจะต้องรู้ระบบการทำงานของเครื่องเป็นอย่างดีจึงสามารถเขียนโปรแกรมได้ และถ้าเครื่องที่มีฮาร์ดแวร์ต่างกัน จะใช้โปรแกรมร่วมกันได้

1.2 ภาษาแอสแซมบลี (Assembly Language)
จัดเป็นภาษาสัญลักษณ์ (Symbolic Language) เป็นภาษาที่พัฒนามาจาก
ภาษาเครื่องโดยใช้สัญลักษณ์ข้อความแทนกลุ่มของเลขฐานสอง ทำให้การเขียนโปรแกรมสะดวกขึ้นแต่ผู้เขียนโปรแกรมยังคงต้องจำความหมายสัญลักษณ์ที่ใช้แทนคำสั่งต่าง ๆ การเขียนโปรแกรมภาษาแอสแซมบลี มีลักษณะที่ต้องขึ้นอยู่กับเครื่องเราไม่สามารถนำโปรแกรมภาษาแอสแซมบลีไปใช้กับเครื่องต่างชนิดกันได้ ดังนั้น ผู้เขียนโปรแกรมจะต้องเข้าใจระบบการทำงานของเครื่องเป็นอย่างดี การเขียนโปรแกรมด้วยภาษานี้ วิธีการก็คล้ายกับการเขียนโปรแกรมภาษาเครื่องแต่อย่างไรก็ตามคอมพิวเตอร์จะรู้จักแต่เฉพาะภาษาเครื่องเท่านั้น ดังนั้นจึงต้องมีการแปลภาษาแอสแซมบลีให้เป็นภาษาเครื่องเสียก่อน เครื่องจึงจะสามารถทำงานตามโปรแกรมคำสั่งได้โปรแกรมที่ทำหน้าที่แปลภาษานี้เรียกว่าแอสแซมเบลอร์ (Assembler)

ข้อดี ของภาษาแอสแซมบลี
- การเขียนโปรแกรมเขียนง่ายกว่าภาษาเครื่อง

ข้อเสีย ของภาษาแอสแซมบลี
- ขั้นตอนการเขียนโปรแกรมมีลักษณะคล้ายภาษาเครื่องทำให้โปรแกรมคำสั่งต้องเขียนยาวเช่นเดิม
2. ภาษาระดับสูง (High Level Language)
เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ที่ได้รับการพัฒนา ให้สามารถใช้ได้ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น การเขียน
ภาษาไม่ขึ้นกับฮาร์ดแวร์หรือลักษณะการทำงานภายในของเครื่อง ผู้เขียนโปรแกรมไม่จำเป็นต้องเข้าใจระบบการทำงานภายในเครื่องมากนัก เพียงแต่เข้าใจกฎเกณฑ์ในกาเขียนแต่ละภาษาให้ดี ซึ่งลักษณะคำสั่งจะคล้ายกับภาษาอังกฤษ ดังนั้นภาษาระดับสูงจึงเป็นที่นิยมใช้กันแพร่หลายในปัจจุบัน
แต่อย่างไรก็ตามภาษาระดับสูงเครื่องจะยังไม่เข้าใจ จึงต้องมีการแปลให้เป็นภาษาเครื่องเสียก่อน โปรแกรมที่ใช้แปลภาษาระดับสูง แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ อินเทอพรีทเตอร์ (Interpreter) และคอมไพเลอร์ (Compiler)

2.1 อินเทอพรีทเตอร์ (Interpreter)
เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการแปลภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่อง การแปลจะแปลที
และคำสั่งและทำงานตามคำสั่งทันที แล้วจึงไปอ่านคำสั่งต่อไป ในกรณีที่โปรแกรมมีลักษณะการทำงานแบบวนซ้ำ (Loop) อินเทอพรีทเตอร์จะต้องแปลคำสั่งนั้นซ้ำแล้วซ้ำอีก จึงทำให้การแปลแบบอินเทอพรีทเตอร์ทำงานซ้ำ อินเทคพรีทเตอร์จะไม่สร้างออฟเจ๊ทโปรแกรม (Object Program) ซึ่งเป็นโปรแกรมที่แปลเป็นภาษาเครื่องเก็บไว้ ฉะนั้นทุกครั้งที่สั่งให้โปรแกรมทำงานอินเทอพรีทเตอร์ก็จะเริ่มแปลใหม่ทุกครั้ง เครื่องจะเริ่มทำงานทันทีเมื่ออินเทอพรีทเตอร์แปลคำสั่งเสร็จและจะหยุดทำงานเมื่อดินเทอพรีทเตอร์พบข้อผิดพลาดในคำสั่งที่แปล และจะรายงานความผิดพลาดทันที ผู้เขียนโปรแกรมจะต้องแก้ไขโปรแกรมคำสั่งให้ถูกแล้วสั่งให้โปรแกรมเริ่มทำงานใหม่ อินเทอพรีทเตอร์ก็จะเริ่มแปลคำสั่งนั้นใหม่ภาษาที่ใช้อินเทคพรีทเตอร์แปล เช่น ภาษาBASICA และGWBASIC เป็นต้น
2.2 คอมไพเลอร์ (Compiler)
เป็นโปรแกรมที่ใช้แปลภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่อง คอมไฟเลอร์จะทำการ
แปลทั้งโปรแกรม แล้วเก็บโปรแกรมที่แปลได้ในรูปของภาษาเครื่องเก็บไว้ในลักษณะของออฟเจ็ทโปรแกรม (Object Program) ถ้าโปรแกรมที่แปลไม่มีข้อผิดพลาดก็จะปฏิบัติงานตามคำสั่งนั้น ๆ ทันทีแต่ถ้าโปรแกรมมีข้อผิดพลาด คอมไพเลอร์ก็จะบอกข้อผิดพลาดทั้งหมดที่มีในโปรแกรมออกมาให้ทราบ และจะยอมให้ออฟเจ็ทโปรแกรมทำงานต่อเมื่อโปรแกรมได้รับการแก้ไขจนไม่มีข้อผิดพลาดแล้ว โปรแกรมที่ถูกแปลจะเก็บไว้เป็นออฟเจ็ทโปรแกรมในหน่วยความจำ จึงทำให้ต้องใช้เนื้อที่ในหน่วยความจำมากกว่าอินเทอพรีทเตอร์ เพราะต้องเก็บตัวโปรแกรมภาษา (Source Program) ออฟเจ็ท โปรแกรม (Object Program) และคอมไฟเลอร์ (Program)
เมื่อแก้ไขข้อผิดพลาดแล้ว คอมไพเลอร์จะทำการแปลทั้งโปรแกรมใหม่เพื่อเก็บเป็นออฟเจ็ทโปรแกรมอีกครั้งหนึ่งในกรณีที่มีการทำงานแบบวนซ้ำ (Loop) เครื่องจะนำเอาออฟเจ็ทโปรแกรมที่แปลเก็บไว้ไปใช้ทำงาน โดยไม่ต้องมีการแปลซ้ำอีก ทำให้การทำงานเร็วกว่าการแปลแบบอินเทอพรีทเตอร์ ภาษาที่ใช้คอมไพเลอร์แปล ได้แก่ ภาษา C, COBOL, FORTRAN,PL/1, TURBO BASIC,PASCAL เป็นต้น

ตารางที่ 1 แสดงข้อแตกต่างระหว่างอินเทอพรีทเตอร์กับคอมไพเลอร์

อินเทอพรีทเตอร์
(Interpreter) คอมไพเลอรื
(Compiler)
1. แปลโปรแกรมทีละคำสั่งและทำงานตามคำสั่งนั้นทันที
2. ใช้เนื้อที่ในหน่วยความจำน้อย
3. ไม่มีการสร้างออฟเจ็ทโปรแกรม (Objext Program)
4. ถ้าโปรแกรมมีการทำงานแบบวนซ้ำ (Loop) จะต้องแปลคำสั่งซ้ำแล้วซ้ำอีกทำให้การทำงานช้า 1. แปลทั้งโปรแกรมแล้วจึงทำงานตามคำสั่งในโปรแกรมนั้น
2. ใช้เนื้อที่ในหน่วยความจำมา
3. มีการสร้างออฟเจ็ทโปรแกรม (Objext Program)
4. ถ้าโปรแกรมมีการทำงานแบบวนซ้ำ (Loop) เครื่องจะนำออฟเจ็ทโปรแกรมไปใช้งานเลยโดยไม่ต้องแปลซ้ำ ทำให้ทำงานได้เร็วกว่า


ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาภาษาระดับสูงมาใช้มากมาย ภาษาระดับสูงแต่ละภาษาจะมีกฎเกณฑ์ในการใช้ต่าง ๆ กัน แต่ทุกภาษาจะมีโครงสร้างที่เหมือนกัน คือประกอบด้วยประโยคต่าง ๆ แบ่งออกเป็น 5 ประเภท ดังนี้
1. ประโยคที่ใช้ในการระบุตัวแปร ใช้ในการระบุชื่อ และชนิดของตัวแปร (Variable) ซึ่งตัวแปรจะใช้เป็นชื่อในการอ้างอิงถึงข้อมูลที่ถูกจัดเก็บในหน่วยความจำ
2. ประโยคที่ใช้ในการอ่านหรือแสดงผลลัพธ์ ใช้ในการอ่านข้อมูลเข้ามาเก็บในตัวแปรที่ระบุและใช้แสดงผลลัพธ์
3. ประโยคควบคุม ใช้ในการควบคุมการทำงานว่าจะให้ทำงานในส่วนใดของโปรแกรมซึ่งถ้าไม่มีประโยคควบคุม การทำงานจะทำเรียงตามลำดับคำสั่ง จากประโยคแรกไปยังประโยคสุดท้าย
4. ประโยคที่ใช้ในการคำนวร ใช้ในการคำนวณค่าทางคณิตศาสตร์
5. ประโยคที่ใช้บอกจบการทำงาน ใช้ระบุจุดจบของการทำงาน

ภาษาระดับสูงมีอยู่หลายภาษา สามารถเลือกใช้ให้เหมาะสมกับงาน เช่น
1. ภาษาฟอร์แทรน (FORTRAN : FORmular TRANslation) ภาษาฟอร์แทรนเป็นภาษา
ที่เหมาะในงานด้ายวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และ คณิตศาสตร์ซึ่งเป็นงานที่มักใช้การประมวลผลที่ซับซ้อน ลักษณะของภาษาอยู่ในลักษณะที่คล้ายกับสูตรหรือสมการทางคณิตศาสตร์ ภาษาฟอร์แทรนไม่เหมาะกับงานพิมพ์หรือ งานที่ต้องการเก็บข้อมูลเป็นไฟล์เพราะคำสั่งด้านนี้มีน้อย
2. ภาษาโคบอล (COBOL : Common Business Oriented Language) เป็นภาษาที่มี
คำสั่งคล้ายคลึงกับภาษาอังกฤษ ถูกออกแบบมาเพื่อใช้ในงานทางธุรกิจและเป็นภาษาที่ประสบความสำเร็จในการใช้งานธุรกิจ เช่น งานทางด้านบัญชี งานเก็บประวัติข้อมูล งานธุรกิจทั่ว ๆ ไป นอกจากนี้ภาษาโคบอลยังเหมาะกับงานทางด้านการสร้างไฟล์ของข้อมูล งานใหญ่ ๆ ที่มีข้อมูลมาเพราะมีคำสั่งต่าง ๆ ที่ใช้กับไฟล์มากและยังสามารถใช้กับงานที่ต้องการออกรายงาน (Report) แต่มีข้อเสียคือ การทำงานค่อนข้างช้า และไม่เหมาะกับงานคำนวณที่สลัยซับซ้อน
3. ภาษาปาสคาล (PASCAL) มาจากชื่อนักคณิตศาสตร์ขาวฝรั่งเศสชื่อ Blaise Pascal
ภาษาปาสคาลเป็นภาษาที่มีโครงสร้างที่ดีเยี่ยม ทำให้การทำงานของโปรแกรมมีประสิทธิภาพดีมากเทอร์โบปาสคาล (Turbo Pascal) เป็นรุ่นที่นิยม เพราะเทอร์โบปาสคาลเป็นภาษาค่อนข้างจุกจิก มีข้อยกเว้นและมีเครื่องหมายมาก ทำให้ลดความคล่องตัวในการใช้งานลงไป
4. ภาษาซี (C) เป็นภาษาที่เขียนโปรแกรมแบบโครงสร้าง มีรูปแบบคำสั่งค่อนข้างอิสระมี
คำสั่งและฟังก์ชั่นมาก สามารถใช้กับงานได้หลายประเภท สามารถควบคุมฮาร์ดแวร์ได้ ภาษาซีถูกนำมาใช้ในการพัฒนาโปรแกรมหลายอย่าง เช่น UNIX, cu Writer เป็นต้น


5. ภาษาเบสิก (BASIC : Beginner’s All-purpose Symbolic Instruction Code) จุด
เด่นของภาษาเบสิก คือ Operating System ของภาษานี้ใช้เนื้อที่น้อยคำสั่งต่าง ๆ มีน้อย แต่สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นภาษาที่เข้าใจง่าย และถูกออกแบบเพื่อใช้งานในลักษณะโต้ตอบ เพราะภาษเบสิกส่วนใหญ่ ถูกพัฒนาโดยใช้อินเทอพรีทเตอร์ ทำให้ผู้เขียนโปรแกรมสามารถพิใพ์โปรแกรมเข้าเครื่องและแก้ไขข้อผิดพลาดได้ทันที เหมาะกับผู้ที่เริ่มหัดเขียนโปรแกรม ภาษาเบสิกทำได้ทั้งานคำนวณ งานธุรกิจ หรืองานออกรายงาน (Report)
6. ภาษาอัลโกล (ALGOL : ALGOrithmic Language) เป็นภาษาโครงสร้างใช้กับงาน
ด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ลักษณะภาษาคล้ายกับภาษา FORTRANลักษณะโปรแกรมจะแยกออกเป็นส่วน ๆ เรียกว่าโปรแกรมย่อย (Subroutine หรือProcedure)
7. ภาษาพีแอลวัน (PL/I : Programming Language I ) เป็นภาษาที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อ
ใช้กับงานธุรกิจและวิทยาศาสตร์ โดยรวมเอาข้อดีของภาษาฟอร์แทรนและโคบอลเข้าด้วยกันคือสามารถทำการคำนวณได้ดีเหมือนกับภาษาฟอร์แทรนและสามารถจัดไฟล์และทำรูปแบบรายงานได้เหมือนกับภาษาโคบอล ภาษาพีแอลวัน ต้องการเนื้อนที่ในหน่วยความจำมากจึงต้องใช้กับเครื่องขนาดใหญ่เหมาะที่จะใช้กับงานใหญ่ ๆ ที่ต้องการความเร็วในการประมวลผล

โอโอพี (OOP : Object Oriented Programming)
โอโอพี (OOP) เป็นกลวิธีการเขียนโปรแกรมแบบใหม่ที่แตกต่างจากการเขียนโปรแกรมแบบเดิม ซึ่งการเขียนโปรแกรมแบบเดิมจะเป็นแบบโครงสร้าง (Structured Programming) โดยการเขียนโปรแกรมแบบจากบนลงล่าง ทำให้การนำโปรแกรมมาประกอบกันทำได้ยาก ส่วนการเขียนโปรแกรมแบบจากบนลงล่าง ทำให้การนำโปรแกรมมาประกอบกันทำได้ยาก ส่วนการเขียนโปรแกรมแบบออฟเจท (Object) เป็นการมองการเขียนโปรแกรมให้เป็นก้อนออฟเจ็ทและสามารถนำมาต่อ ๆ กันได้ เวลาจะเขียนโปรแกรมใหม่ก็ทำได้ง่าย โดยการนำเอาออฟเจ็ทที่เขียนไว้แล้วมาต่อ ๆ กันเป็นโปรแกรม โดยไม่ต้องเขียนใหม่ทั้งหมด ทำให้เขียนโปรแกรมได้เร็วขึ้น การเขียนโปรแกรมแบบ โอโอพีจะใช้ภาษาอะไรก็ได้ เช่น Visual Basic, Visual C++, Delphi เป็นต้น
นอกจากภาษาระดับสูงที่กล่าวมาแล้ว ยังมีภาษาอีกประเภทหนึ่งที่จัดเป็น ภาษารุ่นที่ 4 (4 GL : Fourth Generation Language) เป็นภาษาที่มีลักษณะเป็นธรรมชาติ เรียกว่าภาษาธรรมชาติ (Natural Language) หรือ ภาษามนุษย์นั่นเองโดยที่ได้มีความพยายามที่ใช้คอมพิวเตอร์ ในการสื่อสารกับมนุษย์ในด้านการฟัง พูด อ่าน และเขียน เป็นภาษาแบบ Nonprocedural ซึ่งตรงข้ามกับภาษารุ่นก่อน ๆ ที่เป็นแบบ Procedural คือ ในการเขียนโปรแกรมจะต้องระบุขั้นตอนในการทำงานลงในโปรแกรม แต่การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาแบบ Nonprocedural นั้นไม่จำเป็นต้องระบุวิธีการลงในโปรแกรมเพียงแต่บอกว่าต้องการอะไรเท่านั้น ส่วนใหญ่มักใช้ภาษารุ่นที่ 4 นี้ในการดูแลจัดการข้อมูลในระบบฐานข้อมูลและในการสร้างรายงาน
...ยินดีต้อนรับสู่ บล็อก ของ 2PT2Y ด้วยความยินดีค่ะ...